วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554


ปัญหาความเสื่อมโทรมทางด้านจิตใจและศีลธรรม

ปัญหายาเสพติด

ปัญหาความขัดเเย้ง

ปัญหาทางสังคม

ลักษณะปัญหาสังคม พอสรุปลักษณะปัญหาสังคมได้ดังนี้
1.เป็นสภาวการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนเป็นจำนวนมาก
2.เป็นสี่งที่คนส่วนใหญ่พิจารณาว่าเป็นสภาวการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา
3.ปัญหาสังคม จะเปลี่ยนเเปลงไปเมื่อค่านิยมตีความในเเบบเเผนพฤติกรรมผิด
4.ปัญหาสังคมย่อมผันเเปรไปตามกาลเวลา
5.ปัญหาสังคมย่อมมีผลมาจากนโยบายของรัฐที่มิได้คาดคิดล่วงหน้าไว้ก่อน

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อสอบเคมี

1. สารเคมีส่วนใหญ่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตชนิดใด

ก. พวกแร่ธาตุต่าง ๆ ข. พืช ค. สัตว์ ง. ถูกทุกข้อ

2. นักวิทยาศาสตร์ชนชาติใด พบว่าสารอินทรีย์ประกอบด้วยธาตุหลักสามธาตุ

ก. เยอรมันนี ข. อังกฤษ ค. เวียดนาม ง. ฝรั่งเศส

3. นักเคมีชาวสวีเดน เริ่มใช้คำว่า “ เคมีอินทรีย์” Corganic chemistry เป็นครั้งแรกปี ค.ศ. ใด

ก. ค.ศ. 1807 ข. ค.ศ. 1808 ค. ค.ศ. 1809 ง. ค.ศ. 1810

4. สารอินทรีย์ทุกชนิดจะต้องมีธาตุใดเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเสมอ

ก. ออกซิเจน ข. ไนโตรเจน ค. คาร์บอนไดออกไซด์ ง. คาร์บอนมอนนอกไซด์

5. ส่วนประกอบของสารอินทรีย์ชนิดใดเป็นแหล่งกำเนินที่สำคัญของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

ก. เชื้อเพลิงธรรมชาติ ข. พืช ค. สัตว์ ง. แร่ธาตุต่าง ๆ

6. ธาตุคาร์บอนมีอิเล็กตรอนในเซลล์นอกสุดมีกี่อนุภาค

ก. 1 ข. 2 ค. 3 ง. 4

7. เพราะเหตุใดทำให้การดึงดูดระหว่างนิวเครียสกับอิเล็กตรอนในเซลล์นอกสุดน้อยลง

ก. ขนาดอะตอมเล็กกว่าคาร์บอน ข. ขนาดอะตอมเท่ากับคาร์บอน

ค. ขนาดอะตอมใหญ่กว่าคาร์บอน ง. ขนาดอะตอมไม่สามารถระบุได้

8. สารประกอบพวกที่คาร์บอนในโมเลกุลต่อกันเป็นแบบใด

ก. โซ่ปิด ข. โซ่เปิด ค. วงแหวน ง. ถูกทั้ง ก และ ค

9. สารประกอบที่มีพันธะระหว่างคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยวทั้งหมดได้แก่พวกใด

ก. แอลไคน์ ข. แอลคีน ค. แอลเคน ง. ไซโคลแอลคีน

10. ปฏิกิริยาที่โมเลกุลชนิดเดียวกับหรือคล้ายกับจำนวนมากคือข้อใด

ก. ปฏิกิริยาการจัดเรียงใหม่ ข. โพลิเมอไรเซชัน

ค. ปฏิกิริยาคอนเดนเซชัน ง. ออกซิเดชัน

11. ประเภทของการแตกพันธะแบ่งออกเป็นกี่ชนิด

ก. 1 ข. 2 ค. 3 ง. 4

12. การศึกษาปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์คืออะไร

ก. การศึกษาถึงเรื่องการเกิดพันธะ ข. การแตกพันธะของสารประกอบคาร์บอน

ค. ถูกทั้ง ก และ ข ง. ผิดทุกข้อ

13. แหล่งธรรมชาติที่สำคัญของสารอินทรีย์มีกี่ชนิด

ก. 2 ข. 3 ค. 4 ง. 5

14. แหล่งธรรมชาติที่สำคัญของสารอินทรีย์มีอะไรบ้าง

ก. พืชและสัตว์ ข. เชื้อเพลิงธรรมชาติ ค. ถ่านหิน ง. ถูกทุกข้อ

15. ปิโตรเลียมมีกี่สถานะ

ก. 2 ข. 3 ค. 4 ง. 5

16. ปิโตรเลียมที่เป็นก๊าซเรียกว่า

ก. น้ำมันดิบ ข. แอลฟิลล์ ค. ก๊าซธรรมชาติ ง. ถูกทุกข้อ

17. ปิโตรเลียมที่เป็นของเหลวเรียกว่า

ก. แอลฟิลล์ ข. น้ำมันดิบ ค. ก๊าซธรรมชาติ ง. ถูกทุกข้อ

18. ปิโตรเลียมที่เป็นของหนืดเรียกว่า

ก. ก๊าซธรรมชาติ ข. แอลฟิลล์ ค. น้ำมันดิบ ง. ถูกทุกข้อ

19. สารประกอบไฮโดรคาร์บอน คือสารใด

ก. สารที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน

ข. สารที่ประกอบด้วยออกซิเจนและคาร์บอน

ค. สารที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอน

ง. สารที่ประกอบด้วยน้ำและไฮโดรเจน

20. แหล่งกักปิโตรเลียมแสดงรูปเป็นรูปชนิดใด

ก. รูปวงกลม ข. รูปเส้นตรง ค. รูปสามเหลี่ยม ง. รูปโค้ง

21. หินน้ำมันมีชื่อภาษาอังกฤษว่าอย่างไร

ก. Ground State ข. Crudeoil ค. Asphalt ง. Oilshale

22. การเจาะปิโตรเลียมในประเทศไทยหลุมแรกเจาะที่ใด

ก. อ่าวไทย ข. ทะเลอันดามัน ค. เกาะพีพี ง. เกาะช้าง

23. ลิกไนท์มีค่าคาร์บอนเฉลี่ยกี่เปอร์เซ็นต์

ก. 75.0 ข. 82.60 ค. 93.5 ง. 65.7

24. จงบอกลักษณะที่ถูกของลิกไนท์

ก. มีเนื้อพลุน ข. มีเนื้อไม้ของพืชชัดเจน

ค. เป็นมันวาว ง. ถูกทุกข้อ

25. จงบอกสูตรทั่วไปของสารประกอบอัลคีน

ก. R - OH ข. R - t ค. R - O - R’ ง.*R - CH - CH - R*

26. อนุพันธ์ หมายถึง

ก. สารประกอบทั่วไปสัมพันธ์กัน ข. สารประกอบทั่วไปที่ไม่สัมพันธ์กัน

ค. สารประกอบที่มีสูตรโครงสร้างไม่เหมือนกัน ง. ถูกทุกข้อ

28. สารประกอบอะโรมาติก เป็นสารประกอบแบบใด

ก. วงกลม ข. วงแหวน ค. สี่เหลี่ยม ง. เส้นตรง

29. โพลิเมอไรเซซัน คืออะไร

ก. ปฏิกิริยาการรวมระหว่างสารอินทรีย์ ข. ปฏิกิริยาการจัดเรียงอะตอม

ค. ปฏิกิริยาที่โมเลกุลชนิดเดียวกัน ง. ปฏิกิริยาการรวมตัวกับก๊าซไฮโดรเจน

30. ปฏิกิริยารีดักชัน คืออะไร

ก. ปฏิกิริยาที่โมเลกุลชนิดเดียวกัน ข. ปฏิกิริยาการรวมตัวกับก๊าซไฮโดรเจน

ค. ปฏิกิริยาการจัดเรียงอะตอม ง.ปฏิกิริยาการรวมตัวระหว่างสารอินทรีย์



เฉลยแบบทดสอบ

1. ง 2. ง 3. ข 4. ค 5. ก
6. ง 7. ค 8. ข 9. ค 10. ข
11. ข 12. ค 13. ข 14. ง 15. ข
16. ค 17. ข 18. ข 19. ค 20. ง
21. ง 22. ก 23. ง 24. ข 25. ง
26. ก 27. ค 28. ข 29. ค 30. ข

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ตารางธาตุ

ตารางธาตุ (Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ (Dmitri Mendeleev) ในปี พ.ศ. 2412[1] จากการสังเกตว่า เมื่อนำธาตุที่รู้จักมาวางเรียงตามลำดับเลขอะตอม จะพบว่าคุณสมบัติพื้นฐานบางอย่างคล้ายกัน สามารถจำแนกเป็นกลุ่มๆ ได้ ทำให้เกิดรูปแบบตารางธาตุ และพัฒนาต่อเนื่องมาจนเป็นอย่างที่เห็น ตารางธาตุเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วย
ประวัติศาสตร์ของตารางธาตุ
เริ่มต้นจาก
จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมา
ข้อแนะนำในการจดจำธาตุในตารางธาตุ
หมู่ 1A ลิเทียม (Lithium) โซเดียม (Sodium - Natrium) โพแทสเซียม (Potassium - Kalium) รูบิเดียม (Rubidium) ซีเซียม (Cesium) แฟรนเซียม (Francium)
หมู่ 2A เบริลเลียม (Beryllium) แมกนีเซียม (Magnesium) แคลเซียม (Calcium) สตรอนเทียม (Strontium) แบเรียม (Barium) เรเดียม (Radium)
หมู่ 3A โบรอน (Boron) อะลูมิเนียม (Aluminium) แกลเลียม (Gallium) อินเดียม (Indium) แทลเลียม (Thallium)
หมู่ 4A คาร์บอน (Carbon) ซิลิกอน (Silicon) เจอร์เมเนียม (Germanium) ดีบุก (Tin - Stannum) ตะกั่ว (Lead - Plumbum)
หมู่ 5A ไนโตรเจน (Nitrogen) ฟอสฟอรัส (Phosphorous) อะซินิค (สารหนู) (Arsenic) พลวง (Antimony - Stibium) บิสมัท (Bismuth)
หมู่ 6A ออกซิเจน (Oxygen) ซัลเฟอร์ (กำมะถัน) (Sulfur) ซีลีเนียม (Selenium) เทลลูเรียม (Telllurium) โพโลเนียม (Polonium)
หมู่ 7A ฟลูออรีน (Fluorine) คลอรีน (Chlorine) โบรมีน (Bromine) ไอโอดีน (Iodine) แอสทาทีน (Astatine)
หมู่ 8A ฮีเลียม (Helium) นีออน (Neon) อาร์กอน (Argon) คริปตอน (Krypton) ซีนอน (Xenon) เรดอน (Radon)
ยกเว้น ไฮโดรเจน เพราะยังถกเถียงกันอยู่ว่าจะจัดลงไปที่หมู่ 1 หรือ 7 ดี เพราะคุณสมบัติเป็นกึ่ง ๆ กัน ระหว่าง 1A กับ 7A และธาตุประเภททรานซิชัน โดยทั่วไป ไม่แนะนำให้จำ แต่อาศัยดูตารางเอา และควรจำคุณสมบัติของธาตุที่สำคัญ ๆ ให้ได้ หรืออาจจะใช้หลักการในการท่องให้ง่ายขึ้น เช่นการใช้ตัวย่อของแต่ละคำมารวมกันเป็นประโยคที่จำง่าย ๆ ซึ่งจะทำให้จำได้ไวขึ้น
แหล่งกำเนิดของธาตุในจักรวาล
ไฮโดรเจนและฮีเลียมเกิดเริ่มแรกในจักรวาลหลังบิกแบง
ธาตุตัวที่ 3 คือ
ลิเทียม ถึงตัวที่ 26 คือ เหล็กเกิดจากภาวะอัดแน่นในดวงดาว
ธาตุตัวที่หนักกว่าเหล็กจนถึง
ยูเรเนียมเกิดจากดาวระเบิด หรือปรากฏการณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นในดาวฤกษ์ (กรณีหลังจะได้กัมมันตภาพฯ เป็นส่วนมาก)